หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า “รามจิตติ” เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “ ดุสิตสมิต” เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๔ ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน ๑๘ ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด ๑ ปี ๗ เดือน อ่านต่อที่นี่
วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
เนื้อความแสดงถึงความเข้าพระทัยปัญหาต่างๆ ของชาวนาและยังสะท้อนพระเมตตาธรรมอันเปี่ยมล้นของพระองค์ที่มีต่อชาวนา ทรงนำบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์มาวิเคราะห์ เกี่ยวกับความยากลำบาบของชาวนาไทย และทรงแปลบทกวีจีนของหลี่เชินเป็นภาษาไทย ทำให้เห็นภาพชีวิตชองชาวนาไทยและชาวนาจีน ไม่ได้มีความแตกต่างกันเท่าใดนัก อ่านต่อที่นี่
วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556
มงคลสูตรคำฉันท์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๖ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ตลอดระยะเวลา ๑๕ ปีที่ครองราชย์ (พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๘) ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นอเนกประการ ทรงพระปรีชาสามารถทั้งด้านการทหาร การปกครอง การต่างประเทศ และโดยเฉพาะด้านอักษรศาสตร์ พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์งานประพันธ์หลายประเภท เช่น บทละคร บทความ สารคดี นิทาน นิยาย เรื่องสั้น และทรงใช้งานพระราชนิพนธ์เป็นสื่อแสดงแนวพระราชดำริในเรื่องต่างๆ บทพระราชนิพนธ์หลายเรื่องยังได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดีหรือเป็นหนังสือที่แต่งดี อาทิ หัวใจนักรบ เป็นยอดของบทละครพูดร้อยแก้ว มัทนะพาธา เป็นยอดของบทละครพูดคำฉันท์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงรับการถวายพระราชสมัญญาว่า "สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า" ซึ่งมีความหมายว่า นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ และใน พ.ศ. ๒๕๑๕ พระองค์ยังทรงได้รับการประกาศยกย่องจากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) ให้ทรงเป็น ๑ ใน ๕ นักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ของไทย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)